VDO Interview

 คุณสมบัติของความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์การค้า



ผศ.ดร. ธรินี มณีศรี ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยศรีปทุม หนึ่งในคณะกรรมการตัดสินรางวัล ELMA สำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการโลจิสติกส์ ให้มุมมองเกี่ยวกับความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์การค้าว่า

ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนที่สำคัญในมุมมองของผู้ใช้บริการโลจิสติกส์ กลุ่มบริษัทซีพีที่ได้รับรางวัลทั้ง 3 บริษัท คือ บจม. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร บจก. ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด บจม. ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) มีความชัดเจนมากในเรื่องของการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และสามารถบริหารจัดการในขณะเดียวกันก็ยังสามารถรักษาความเป็นเลิศใน core business ได้ ตรงนี้ถือเป็นส่วนสำคัญที่เห็นว่าผู้ที่จะได้รับรางวัล ELMA ควรมีคุณสมบัติเช่นนี้

                            --------------------------------------------------------------------------------------


จุดอ่อนที่ยังขาดการเชื่อมโยง


คุณอกนิษฐ์ สมิตพินทุ นายกสมาคมบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายเชนแห่งประเทศไทย หนึ่งในคณะกรรมการตัดสินรางวัล ELMA สำหรับกลุ่มผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ให้ความเห็นต่อการตัดสินรางวัลว่า

จากการที่ได้เข้าไปเยี่ยมชมบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในรอบสุดท้ายก่อนการตัดสินรางวัล คณะกรรมการก็ได้เห็นกระบวนการทำงานเพื่อเปรียบเทียบกับรอบที่บริษัทได้มานำเสนอ เราได้เห็นจุดเด่นจุดด้อยของแต่ละบริษัทเด่นชัดขึ้น

ผมคิดว่าความเห็นของคณะกรรมการที่ได้ให้ไปในรอบการเยี่ยมชมบริษัท เป็นความเห็นที่สำคัญมาก เพราะเราได้ไปเห็นการปฏิบัติงานจริง และมองว่ากลุ่มผู้ให้บริการโลจิสติกส์บางบริษัทมีจุดเด่นมากในเรื่องของการดำรงวิสัยทัศน์ มีความตั้งใจตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงระดับผู้ปฏิบัติการ สามารถเข้าใจกระบวนการได้ดี แต่อาจจะขาดบางส่วนในเรื่องของการเชื่อมโยงกระบวนการต่างๆ

สำหรับบริษัทที่ไม่ได้รับรางวัล ผมคิดว่าท่านก็ไม่ได้เสียใจ แต่เป็นโอกาสในการได้พัฒนา ผมให้กำลังใจและอยากให้มีความเพียรในการปรับปรุงต่อๆ ไป 

                                   --------------------------------------------------------------------------------------

กรรมการ ELMA ปลื้มผู้เข้าประกวดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี



ผศ.ดร. พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีหนึ่งในคณะกรรมการพิจารณารางวัล ELMAสำหรับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ให้ความเห็นต่อการประเมินผู้เข้าร่วมประกวดว่า

ในฐานะกรรมการคนหนึ่งในการประกวดรางวัล ELMA ในสาขาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ผมขอชื่นชมผู้ที่เข้ามาสมัครร่วมประกวดรางวัล ELMA ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการขนส่งคลังสินค้า ทั้งรายใหญ่และเล็ก ซึ่งโดยภาพรวมหลายบริษัทค่อนข้างใช้ได้แม้ว่าบางบริษัทอาจจะได้คะแนนไม่ดีนักสำหรับการพิจารณาของคณะกรรมการแต่ผมเองค่อนข้างชื่นชมเพราะเป็นบริษัทคนไทยจำนวนมากแม้บางบริษัทที่เป็นบริษัทขนาดเล็ก แต่ก็หาจุดแข็งตัวเองเจอบริษัทขนาดใหญ่ก็พยายามปรับปรุงเรื่องเทคโนโลยี การให้บริการหรือแม้แต่การใช้ประโยชน์จากข้อแนะนำที่ได้จากการประกวดครั้งนี้นำไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นสำหรับผู้ที่ทำดีอยู่แล้วก็ขอให้ทำดีต่อไป สำหรับผู้ที่ผิดหวังขอให้อย่าเสียกำลังใจ สามารถกลับมาสมัครประกวดรางวัล ELMA ใหม่ได้ในปีหน้า

                            --------------------------------------------------------------------------------------

 หลากหลายธุรกิจ สร้างต้นแบบโลจิสติกส์



คุณชุมพล สายเชื้อ เลขาธิการสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย 

หนึ่งในคณะกรรมการพิจารณารางวัล ELMA สำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการโลจิสติกส์  ให้ความเห็นต่อการประเมินผู้เข้าร่วมประกวดว่า

“การประกวดรางวัล ELMA ในปีนี้ พบว่ามีบริษัทผู้ประกอบการจำนวนมากที่สนใจสมัครเข้ามา  กลุ่มที่สมัครเข้ามาก็มีความหลากหลายของธุรกิจ  ซึ่งในแต่ละบริษัทก็มีจุดเด่นที่นำโลจิสติกส์ไปประยุกต์ใช้ได้ดีมาก  สร้างความหนักใจให้กับคณะกรรมการเหมือนกัน เพราะว่าในความหลากหลายของธุรกิจ มุมมองของโลจิสติกส์ในการนำไปใช้เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัทก็มีหลากหลายมุมมองเช่นกัน แต่ผมคิดว่าสุดท้ายแล้วบริษัทใดที่ได้รับรางวัล ELMA จะเป็นต้นแบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่ดีสำหรับกลุ่มธุรกิจเดียวกันหรือใกล้เคียงกันได้นำไปประยุกต์ใช้”

                             --------------------------------------------------------------------------------------

         มุมมองผู้ส่งออกกับ “เส้นทางสู่ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์”



คุณไพบูลย์ พลสุวรรณา ที่ปรึกษาสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือสภาผู้ส่งออกฯ เปิดเผยถึงเส้นทางสู่ความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ว่า

กระบวนการการค้าระหว่างประเทศใน 3-4 ปีที่ผ่านมา ทุกคนคงจะเห็นชัดแล้วว่า การทำธุรกิจเหมือนเดิม อยู่ในที่เดิม คงจะต่อสู้ได้ยาก โดยเฉพาะประเทศไทยเรามีคู่แข่งเพิ่มขึ้นอย่างมากมายรวมถึงอาเซียนด้วยกันเอง 



ที่ผ่านมาภาคเอกชนไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก ล้วนเป็นโซ่อุปทานที่เชื่อมโยงกันทั้งสิ้น ถ้าธุรกิจขนาดใหญ่ไม่ดูแลขนาดกลาง ไม่ส่งต่อถึงขนาดเล็ก ก็จะมีปัญหา เพราะฉะนั้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องของโลจิสติกส์ว่าด้วยเรื่องของการพัฒนาธุรกิจ พัฒนาองค์ความรู้จึงมีความเกี่ยวข้องและสำคัญอย่างยิ่ง



ในฐานะสภาผู้ส่งออกฯ เราก็พยายามส่งเสริมสนับสนุนสมาชิกทั้งหลาย ว่าวิธีการทำธุรกิจต่อจากนี้ไป ไม่ใช่เพียงขายสินค้าได้ราคาสมเหตุสมผลเท่านั้น แต่ต้องมีเรื่องคุณภาพ และการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ที่คู่ค้าหรือลูกค้าจะซื้อสินค้าเราไปได้อย่างสบายใจ

การประกวดรางวัล ELMA ปีนี้ไม่ใช่ปีแรก แต่ประกวดมาแล้วหลายปี ซึ่งก็เป็นสิ่งพิสูจน์ได้ว่า เราเองก็ยกระดับเรื่องของการบริการโลจิสติกส์เช่นกัน ไม่ใช่เฉพาะตัวสินค้า แต่ในแง่การบริการที่ว่าด้วยเรื่องของความแม่นยำ การตรงต่อเวลา ตรงตามเวลาที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการทำธุรกิจ

ดังนั้นรางวัล ELMA นี้ จึงเป็นเรื่องการบริการโลจิสติกส์ ที่ผู้ให้บริการต้องตระหนักอย่างมาก ในเรื่องของการบริการ การวางแผนล่วงหน้า การส่งสินค้าอย่างแม่นยำ คือส่วนที่ผู้ที่รับรางวัลต้องตระหนัก และผู้ที่ยังไม่ได้รับรางวัลก็ต้องปฏิบัติตามให้ได้
  
                              --------------------------------------------------------------------------------------

          ELMA สร้างมาตรฐานการให้บริการโลจิสติกส์การค้า



คุณดนัย คาลัสซี รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสด้านซัพพลายเชน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นต่อรางวัล ELMA ว่า



รางวัล ELMA หรือ Export Logistics Model Award ในปี 2013 นี้ ผมถือว่าสำคัญมาก เพราะในช่วงสองปีนี้ เราต้องพัฒนาการเชื่อมต่อของ AEC (ASEAN Economic Community) ซึ่งความสำคัญของโลจิสติกส์ก็คือ การเชื่อมโยง และการสร้างมาตรฐาน เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้าร่วมในโครงการประกวดรางวัล ELMA ครั้งนี้ ก็จะได้ประโยชน์และได้มาตรฐาน เพื่อพัฒนาการทำงานให้ได้ประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ลูกค้ามั่นใจในบริการและประสิทธิภาพของบริษัทนั้นๆ ด้วย

                               --------------------------------------------------------------------------------------

           ผ่านเกณฑ์ รับรางวัล ELMA 


คุณเฉลิมศักดิ์ กาญจนวินทร์ หนึ่งในคณะกรรมการผู้ทรงวุฒิจากภาคเอกชน และกรรมการผู้จัดการ บริษัท อาซเคม โลจิสติกส์ แมเนจเมนท์ จำกัด แนะเคล็ดลับคว้ารางวัล
ELMA 2013

ปีนี้เป็นอีกหนึ่งที่จะมีการประกวด ELMA 2013 ผู้ประกอบการหลายท่านอาจจะกังวลว่าจะต้องเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง สิ่งแรกคือท่านจะต้องเตรียมความพร้อมในด้านของตัวเองก่อน ในเรื่องดูข้อมูลขององค์กรและมีการประชุมในองค์กรว่า ท่านได้มีการปฏิบัติด้านโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศในมุมใดบ้าง
รางวัลนี้ไม่ต้องแข่งขันกับใคร ทางคณะกรรมการจะมีเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้  ถ้าบริษัทของท่านผ่านเกณฑ์ทั้งหมด (โดยไม่ต้องเทียบเคียงกับใคร) คุณก็มีโอกาสที่จะได้รับรางวัล

อย่ากังวลว่าเราอาจจะไม่ได้รางวัล อย่างน้อยการที่คุณได้เตรียมเอกสารเพื่อเข้าร่วมประกวดชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นชุดที่เหมือนเป็นไบเบิลขององค์กรที่ว่า องค์กรของท่านมีการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ที่ดีอย่างไร ท่านจัดทำเอกสารขึ้นมาหนึ่งชุด ส่งให้คณะกรรมการ คณะกรรมการก็จะมีเกณฑ์ในการประเมินว่า performance ด้านโลจิสติกส์ของบริษัทท่านผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่

อยากเชิญชวนให้มาร่วมลองประกวดกัน เพราะในเชิงธุรกิจท่านก็เจอการแข่งขันที่ค่อนข้างหนักหน่วง แต่การที่คุณแข่งขันทางด้านรางวัล คุณจะเห็นตัวเอง สะท้อนถึงความพยายามในการดำเนินธุรกิจของตัวเอง ว่าสิ่งที่คุณพยายามทำผลลัพธ์ออกมาดีมากน้อยแค่ไหน และท้ายสุดถ้าท่านได้รับรางวัลก็จะเป็นความภาคภูมิใจของบริษัทท่านเอง ผมขอแสดงความยินดีล่วงหน้าสำหรับผู้เข้าร่วมประกวด”


--------------------------------------------------------------------------------------

           มากกว่ารางวัลคือประโยชน์ที่ให้แก่ลูกค้า


คุณวิศกรณ์ ศรีสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท KWC Warehouse หนึ่งในผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่มีความสนใจเข้าร่วมรางวัล ELMA 2013

“ELMA เป็นรางวัลที่มีความน่าสนใจ อันดับแรกในด้านมาตรฐานในการยกระดับของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผมทำธุรกิจด้าน Warehousing Management รางวัลนี้ได้นำเกณฑ์การประเมินมาตรฐานโดยใช้กรอบการประเมินของ Malcolm Baldrige ซึ่งผมถือว่าเป็นองค์กรที่มีความมาตรฐานสูงมากมาประเมินผล สอง ผมอยากจะประเมินตัวเองในสายตาของลูกค้าและตัวเอง และประการสุดท้าย ถ้าเราได้มีโอกาสร่วมการประกวดครั้งนี้ เราจะได้ถูกประเมินและขณะเดียวกันก็มีโอกาสที่จะได้ปรับปรุงตัวเองมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัท และแน่นอนว่าเพื่อผลประโยชน์ที่สำคัญที่สุดให้แก่ลูกค้า


--------------------------------------------------------------------------------------

          ELMA รางวัลแห่งความสำเร็จ โดย ดร. เนตรปรียา ชุมไชโย



ดร. เนตรปรียา ชุมไชโย
รองผู้อำนวยการสำนักธุรกิจบริการและโลจิสติกส์การค้า

“เท้าความตั้งแต่อดีต ปีแรกที่เราจัดเป็นรางวัลที่จัดในท้องถิ่น Criteria ก็คิดกันเอง เซทกันเองเพื่อให้ได้มาตรฐาน ที่ไม่โหดจนเกินไปนัก ประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา เราก็เริ่มมามองว่าตัวผู้ประกอบการไทยทั้งในส่วนของผู้ผลิตผู้ส่งออก และอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ เริ่มตื่นตัวและเห็นคุณค่าของรางวัลนี้ เราก็เลยมีการปรับ Criteria ใหม่ โดยที่เอา Criteria ของอินเตอร์ในระดับสากลคือ Malcom Baldrige และ SCOR เป็นต้น ในปีนั้นที่มีการปรับ Criteria  เรียกได้ว่าโหดได้ที่ ซึ่งปีนั้นมีคนสมัครเยอะมาก แต่แทบไม่ได้รางวัลเลย เพราะเราบอกแล้วว่าเราจะต้องยกรางวัลของเราให้เป็นรางวัลมาตรฐานระดับสากลจริงๆ ในปีถัดมาก็มีคนสมัครเยอะมากขึ้นอีก ดิฉันก็ถามผู้ประกอบการว่า ไม่กลัวหรอ เพราะว่าปีที่แล้ว ปีก่อนๆ สมัครกันมาเยอะแล้ว ส่วนใหญ่ไม่ได้รับรางวัล ปรากฏทุกคนบอกว่า ขอสมัครได้ไหม บางบริษัทยังเล็กๆ อยู่เลย ขอสมัครได้ไหม ดิฉันก็ถามว่า ทำไม เขาบอกว่า จะไปหาโอกาสที่จะหาอาจารย์ระดับกูรูเหล่านี้ มาช่วยตรวจสุขภาพองค์กรแล้วให้คำแนะนำอย่างนี้ได้ที่ไหน เพราะฉะนั้นนับตั้งแต่ที่เราปรับ Criteria ของเราเป็นอินเตอร์ขึ้นมา ก็พบว่ามีคนสนใจสมัครมากยิ่งขึ้นวันนี้เราก็มีผู้ที่ได้รับรางวัล ทั้งปีล่าสุดและก็มีก่อนหน้านี้ ซึ่งวันนี้เปลี่ยนสถานะภาพเป็นกรรมการแล้ว ซึ่งก็อยากจะบอกว่าทุกๆ คนคงจะมาผนึกกำลังและก็ช่วยยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของเราให้สูงขึ้นไป”

--------------------------------------------------------------------------------------

          ELMA รางวัลแห่งความสำเร็จ โดย อาจารย์แขไข อุปถัมภากูล


อาจารย์แขไข อุปถัมภากูล
กรรมการผู้จัดการ บริษัท RP-โฟร์ แมเนจเม้นท์ จำกัด

“เมื่อพูดถึงมุมมองความเป็นเลิศด้านโลจิสติกส์ ดิฉันมองว่าผู้ประกอบการที่มีการนำระบบการจัดการโลจิสติกส์มาใช้ อย่างเป็นรูปธรรม นั่นหมายถึงว่าเราสามารถมองเห็นจับต้องได้ เสมือนว่าคุณกำลังแข่งขันกับตัวเอง เพราะว่าความเป็นเลิศ คุณต้องยกระดับไปเรื่อยๆ ว่าคุณต้องการอะไร อาจจะไม่เลิศที่สุดของทุกที่ แต่คุณก็มีความเป็นเลิศที่แข่งขันกับตัวเอง แต่จะบอกว่า แล้วความดีเด่นล่ะ ความดีเด่นต้องมีคนมาช่วยดู เพราะฉะนั้น ความดีเด่นด้านโลจิสติกส์ ผู้ประกอบการนั้นต้องพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้สังคมรับรู้ โดยเฉพาะการเข้ามาบนเวทีของการประกวดโลจิสติกส์ดีเด่นในครั้งนี้ จะมีผู้ช่วยเยอะแยะมากมาย เพราะปกติถ้าจะไปเชิญใครมาประเมินต้องเสียสตางค์ แต่สำหรับมาตรงนี้ มีประโยชน์มากมายหลายต่อ เพราะว่าอาจารย์ที่ปรึกษา กรรมการทุกท่านมีใจที่จะทุ่มเทให้กับงานครั้งนี้เพราะเราทำการบ้านค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นเกณฑ์ปีนี้ มีแต่จะดีขึ้น และ เราก็มีความพร้อมที่จะไปเยี่ยมชมท่าน เพราะฉะนั้นถ้าท่านเปิดให้สังคมรับรู้ นอกจากความเป็นเลิศแล้วท่านก็จะเทียบวัดกับกลุ่มแต่ละกลุ่ม อย่างเช่น ขนส่ง คลังสินค้า และการให้บริการครบวงจร รวมทั้งผู้ประกอบการที่เป็นผู้ใช้บริการโลจิสติกส์ ณ วันนั้น อย่างที่ฟังท่านอดีตประธานสภาผู้ขนส่งสินค้าทางเรือ มาแบ่งปันประสบการณ์ ซึ่งให้ทุกอย่างเราจะเห็นว่า User เองต้องเก่งไม่อย่างนั้นแล้วเราก็จะแข่งขันไม่ได้ เพราะฉะนั้น User เก่ง โลจิสติกส์เก่ง การค้าเราก็จะไปได้ไกล แต่วันนี้การที่จะรองรับท่านว่าท่านเก่งจริง ท่านต้องแสดงตัวและออกมาให้สังคมรับรู้ จากนั้นท่านก็จะแบ่งปันความเก่งให้คนอื่นได้ติดตาม คือเป็นโมเดลที่ทุกคนก็จะเข้าใจว่าคนเก่งเป็นอย่างไร”
--------------------------------------------------------------------------------------

         ELMA รางวัลแห่งความสำเร็จ โดย คุณวิเชียร จงอภิรมย์สกุล


คุณวิเชียร จงอภิรมย์สกุล
กรรมการผู้จัดการ เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ โลจิสติกส์ จำกัด

"ในส่วนของบริษัท สิ่งแรกเลย ทำให้บริษัทเราเป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะว่าด้วยชื่อ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์โลจิสติกส์ คนก็จะคิดว่า ก็คงจะทำงานให้กับ เบอร์ลี่ ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช้ เราดูแลกลุ่มเบอร์ลี่และดูแลลูกค้าข้างนอกด้วย ใครสนใจจะใช้บริการ เรายินดีที่จะให้บริการ อย่างที่สองเราใช้รางวัลนี้เป็นตัวสร้างความมั่นใจ ให้กับ 3 ฝ่าย ฝ่ายแรก คือ ลูกค้า เหมือนกับเราเดินไปทานอาหาร ร้านหนึ่งดูสวย แต่ไม่มีป้ายรับรองคุณภาพ ร้านนี้อาจจะดูไม่สวยเท่า แต่มีป้ายรับรอง เราก็เลยตัดสินใจว่า เราจะใช้อะไรเป็นตัวสร้างความเชื่อมั่น เพราะทุกคนจะบอกว่า ระบบตัวเองมีมาตรฐาน และก็ดี ซึ่งมาตรฐานนั้นไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นเราก็ต้องการองค์กรที่เป็นส่วนกลาง คณะกรรมการของ ELMA เองก็ได้พิสูจน์ว่า เป็นคณะกรรมการที่ทรงคุณวุฒิ บวกกับเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นระดับสากล เพราะฉะนั้นผู้ที่จะผ่านเข้ามาได้ ก็คือมีดี ในส่วนของฝ่ายการตลาด เมื่อมีรางวัลก็จะมีความมั่นใจ เวลาจะไปนำเสนอ เขาพูดสิ่งที่เป็นความจริงให้ลูกค้าฟัง เขามีความมั่นใจในการพูด ในการคุย และสุดท้ายก็กลับมาหาตัวของพนักงานเอง นั้นคือเมื่อเราได้รับรางวัลแล้ว เราจะต้องรักษาคุณภาพ และ พัฒนาให้เพิ่มขึ้นไปอีก เพื่อทำให้เราเองสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน และทำให้เราสามารถอยู่ในวงการตรงนี้ได้"

--------------------------------------------------------------------------------------


ELMA รางวัลแห่งความสำเร็จ โดย คุณเฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์


คุณเฉลิมศักดิ์ กาญจนวรินทร์
             กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮาชเคม โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด
“หลายๆผู้ประกอบการที่จะเข้ารับการประเมินไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการประเมิน การประกวด มักจะมีข้อกังวลว่า กรรมการจะโหดมากน้อยแคไหน เกณฑ์การประเมินจะยากแค่ไหน แต่ว่ายังมีอีกหลายท่านที่ไม่กล้าแม้กระทั่งจะเข้ามาร่วมการประกวด ซึ่งจริงๆ แล้วผมอยากจะบอกอย่างนี้ครับว่า การที่ท่านเป็นเจ้าของกิจการหรือเป็น ผู้นำบริษัท บริษัทหนึ่ง แล้วคุณตั้งบริษัทขึ้นมา คำถามคือ ตั้งมาเพื่ออะไร หลายๆ ครั้งที่ตอบแค่ว่า เราต้องการที่จะมีผลตอบแทนทางด้านการเงิน แต่ว่าสิ่งที่สำคัญมากกว่า ผลตอบแทนทางด้านการเงิน จะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งที่เราทำมันยั่งยืน ความยั่งยืนอยู่ที่ไหน และจะรู้ได้อย่างไรว่า องค์กรโตขึ้นทุกๆวัน เพราะฉะนั้น ผมคิดว่า สิ่งหนึ่งที่เป็นกลไก ขับเคลื่อนที่สำคัญให้องค์กรโตและโตอย่างยั่งยืน มันอยู่ที่กระบวนการที่ผู้ประกอบการนั้นให้ความสำคัญ ในเรื่องของการพัฒนาองค์กร ในมิติของโลจิสติกส์เอง ผมว่าจริงๆแล้ว ถ้าใครพอที่จะเข้าใจพื้นฐานของโลจิสติกส์ มันก็ไม่ยากอะไรมากไปกว่า Input Process และ Output แต่ว่าการที่คุณมี Input เข้ามาในองค์กร และคุณก็ Process Input เหล่านั้น เพื่อจะให้กลายเป็น OUTPUT คุณบริหารการเคลื่อนที่และการหยุดได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ทำได้ดีหรือเปล่า นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่า คนที่จะเข้าประกวดต้องวินิจฉัยตนเอง ไม่จำเป็นว่าคุณต้องทำดีเลิศ แต่คำถามคือคุณได้พัฒนาหรือเปล่า ในทุกๆครั้งที่คุณได้เริ่มประเมินตนเอง มันเหมือนเราพยายามสะท้อนตนเอง และพยายามหาช่องที่จะพัฒนาในแต่ละด้าน ในวันๆหนึ่งที่คุณพยายามจะทำด้าน ด้านหนึ่ง และในอีกวันหนึ่งทำอีกด้านหนึ่ง เวลาคุณเติมเต็มในแต่ละด้าน มันก็จะเป็นความสมบูรณ์แบบขององค์กร”


--------------------------------------------------------------------------------------

ELMA รางวัลแห่งความสำเร็จ โดย คุณทิพย์ ดาลาล



คุณทิพย์ ดาลาล
            ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์ กรุ๊ป
“แน่นอนว่าธุรกิจอะไรก็ตาม ลูกค้าหรือว่าพันธมิตร เลือกที่จะจับมือกับเรา ใช้บริการเรานั้น เขาต้องเชื่อถือ นอกเหนือจากเรื่องราคา หรือความสามารถของการแข่งขันในด้านการบริการหรือด้านอื่นๆ เพราะฉะนั้นในการที่จะประกาศตัวเองในตลาดว่า ฉันเก่งอย่างไร เก่งแค่ไหน ก็คงจะไม่เหมาะเท่ากับการเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับ คณะกรรมการให้การรับรอง ผมขอพูดในมุมมองกลุ่มบริษัทคนไทย หลายๆท่านจะได้รับโอกาส ได้เห็นมุมมองจากหลายๆองค์กรที่ได้รับรางวัล ทั้งบริษัทข้ามชาติ บริษัทกึ่งข้ามชาติ ในมุมมองของผู้ประกอบการคนไทย ในเรื่องของโลจิสติกส์หลายท่านที่อยู่ในธุรกิจคงคุ้นเคยและมีประสบการณ์เหมือนๆกันว่า เรามีคู่แข่งที่เป็นบริษัทข้ามชาติ ไม่ใช่ว่าจะต้องรอ AEC แต่ว่าเราเจอคู่แข่งข้ามชาติมาตั้งแต่เข้าวงการเป็นสิบๆปีแล้ว ตั้ง 20-30 ปีแล้ว ไม่ใช่ว่าเพิ่งจะเกิด เพราะฉะนั้นถึงแม้เราจะอยู่ในประเทศไทย ก็เป็นเวทีที่มีคู่แข่งข้ามชาติ คู่ค้าข้ามชาติ และก็ลูกค้าข้ามชาติ มากมาย เพราะฉะนั้นในส่วนของบริษัทเองก็มีฐานลูกค้า และก็คู่ค้าที่เป็นบริษัทข้ามชาติค่อนข้างเยอะ บริษัทเหล่านี้เข้ามาในเมืองไทยแล้ว ไม่ว่าเขาจะรู้จักหรือไม่รู้จักเราก็ตาม การที่เราได้มีโอกาส ได้พิสูจน์ตัวเอง ได้รับการตรวจสอบ ได้รับการทดสอบ จากภาพรวม ทั้ง 7 มุมมอง 7 ด้าน ของการประเมิน ซึ่งเป็นสิ่งที่รับรอง และยืนยัน ให้กับทั้งตัวพนักงานเอง และกลุ่มบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนที่เกี่ยวข้องว่าบริษัทได้รับการรับรอง ระดับที่น่าเชื่อถือ และก็เป็นการง่ายที่พนักงานเรา คู่ค้าเรา พันธมิตรเรา เครือข่ายเรา ได้รับความไว้วางใจ และความมั่นใจมากขึ้น ที่จะนำเสนอองค์กร รวมไปถึงความภาคภูมิใจขององค์กร ของพนักงาน รวมไปถึงผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดที่จะได้รับ”


--------------------------------------------------------------------------------------

             ELMA รางวัลแห่งความสำเร็จ โดยคุณชนัญญารักษ์ เพ็ชร์รัตน์




คุณชนัญญารักษ์ เพ็ชร์รัตน์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเอชแอล เอ็กซ์เพรส ประเทศไทยและภาคพื้นอินโดจีน
"ตอนแรกเลยเราก็ไม่แน่ใจว่าบริษัทข้ามชาติอย่างเราคุณสมบัติจะได้ไหม พอเข้าไปต้องบอกว่ารู้สึกเหมือนประกวด Miss Universe ตอนที่เข้ารับคัดเลือกการประกวดอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการทุกท่านมีความยุติธรรมมากนะคะไม่ว่าคุณจะเป็นบริษัทระดับ Local หรือ International เขาถามเรากระทั่งว่ารู้แล้วบริษัทเมืองนอกเก่งแต่มาตรฐานที่คุณทำในระดับ Local ล่ะ มีอะไรที่คุณทำเพื่อประเทศไทย และนำไปประยุกต์ใช้กับทั่วโลกมีไหม นั่นคือทำให้เราต้องเริ่มกลับมาคิดว่าเราดีอยู่แล้ว แล้วเราจะไปทำให้ดียิ่งกว่า และเราก็ตอบไปว่าเราช่วยประเทศไทยยังไงตอนเรามาเปิดตลาดในประเทศไทยและสิ่งที่เราช่วยไปเกิดในEmerging Marketในประเทศอื่นอย่างไร แล้ว International Firm เอาเรื่อง Custom เรื่องLaw Regulation เรื่องวิธีประเมินธุรกิจในตลาดบ้านเรา ไปใช้กับInternational ใน Region ต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งอันนี้จะบอกว่าในเรื่องของการตลาด นอกจากจะเป็น Brand ที่ดีแล้วมันเป็นการตอกย้ำเรื่องของคุณภาพ การบริการ เป็นการสะท้อนของการสร้าง Brand ที่มีการเติบโตระยะยาว ปกติองค์กรใหญ่ๆเติบโตทุกปีอยู่แล้วเราก็เลยเริ่ม Test Benchmark มาก กับทีมงานเราว่าลองสมัครสิ เราได้รางวัลทั่วโลกมา แล้วในตลาดประเทศไทยเขาตอกย้ำด้วย Brand อะไรกัน สุดท้ายเราก็ได้รับรางวัลจนถึง Prime Minister ‘s Award วันที่เราได้ทราบ CEO เบอร์หนึ่งของเราอยากจะมารับรางวัลนะ ปรากฏว่าต้องเป็นคนไทยเท่านั้น CEO เบอร์หนึ่งเราเลยมาไม่ได้ก็เลยกลายเป็นดิฉันขึ้นรับรางวัลแทน จากทั้งทางกระทรวงพาณิชย์และก็ Prime Minister’s Award ถือว่าเป็น Brand ที่ดี สามารถยืนยันได้ว่าในฐานะผู้ประกอบการที่เป็น LSP ดิฉันนั่งใกล้ชิดกับลูกค้าที่เป็นฐานการผลิต ก่อนที่จะสมัคร เขาบอกว่าแต่ก่อนBrand ขายยากมาก ตั้งแต่ได้ ELMA มายอดขายเพิ่มขึ้น สามารถบอกได้ว่ามีมาตรฐานการผลิตแบบนี้ๆ ดิฉันก็เลยคิดว่าอย่างน้อยเมืองไทยก็ตื่นตัว ทำเพื่อประเทศชาติและเราก็เป็นBrand Inter  แต่เราก็ต้องมั่นใจว่าเราเข้าถึงลูกค้าคนไทย เราถึงต้องสมัครและลองเข้าประกวดดู ก็ขอบคุณมากสำหรับแบรนด์ที่ช่วยสร้างชื่อของ DHL ในตอนนี้ค่ะ"

--------------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น